ผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เปิดเผยว่า ในปี 2563 คนไทยใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นถึง 11.23 ชั่วโมงต่อวัน การใช้เวลาบนออนไลน์ที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งปัญหาทางการเรียน การทำงาน ที่ส่งผลให้ขาดความสามารถในการจดจ่อในสิ่งที่ตัวเองรับผิดชอบ รวมถึงปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจที่สามารถส่งผลกระทบทางร่างกาย ทั้งอาการเมื่อยล้า สมาธิสั้น และภาวะเครียดสะสม อีกทั้งภัยออนไลน์อื่นๆ อาทิ การคุกคามทางออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ TikTok ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมบนแพลตฟอร์มและชุมชนออนไลน์ของผู้ใช้ให้เป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรและปลอดภัย โดยที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและการอัพเดทแนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชน (Community Guideline) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้ทุกคนรู้สึกไว้วางใจและมั่นใจในทุกการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ผ่านเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยต่างๆ ดังนี้
- การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting)
บัญชีผู้ใช้ TikTok จะได้รับการตั้งค่าเริ่มต้นโดยอัตโนมัติให้เป็นสาธารณะ (Public) โดยผู้ใช้สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าให้เป็นบัญชีส่วนตัวได้ ผ่านหน้าการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting) และการตั้งค่าความปลอดภัย โดยบัญชีส่วนตัว เจ้าของบัญชีสามารถอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอติดตามจากผู้ใช้คนอื่นได้ และจะมีเพียงผู้ใช้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ติดตามเท่านั้นที่จะสามารถมองเห็นคอนเทนท์ของเจ้าของบัญชีได้ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลบผู้ติดตามออกจากบัญชีหรือบล็อคผู้ใช้คนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่สามารถสื่อสาร โต้ตอบ หรือดูคอนเทนท์ของเจ้าของบัญชีได้ ทั้งนี้ TikTok กำหนดให้ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี มีการตั้งค่าเริ่มต้นอัตโนมัติเป็นสถานะส่วนตัว (Private)
- การจำกัดเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสม (Restricted Mode)
การตั้งค่า Restricted Mode สามารถช่วยในการจำกัดการมองเห็นสำหรับคอนเทนท์ที่อาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมในทุกเพศทุกวัย โดยผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่า Restricted Mode ได้ตลอดเวลา
- การส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message)
การส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) อาจเป็นวิธีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใช้คนอื่นๆ ซึ่งบน TikTok ผู้ใช้สามารถตั้งค่ากำหนดการส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) โดยให้มีเพียงผู้ติดตามเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) ถึงเจ้าของบัญชีได้ หรือเลือกปิดการส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) ทั้งหมด ทั้งนี้ TikTok มีการกำหนดปิดการรับส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) สำหรับผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี
- การจำกัดการดูเอ็ท (Duet)
ดูเอ็ท (Duet) เป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างสรรค์วิดีโอร่วมกับครีเอเตอร์คนอื่นๆ โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าว่า ใครสามารถดูเอ็ท (Duet) หรือรีแอค (React) กับวิดีโอของตัวเองได้ โดยไปที่กำหนดการตั้งค่า (Preferences) ในบัญชีผู้ใช้ หรือเลือกที่จะเปิดหรือปิดดูเอ็ท (Duet) สำหรับวิดีโอบางรายการได้
- การจำกัดเวลาการใช้หน้าจอ (Screen Time Management)
การจำกัดเวลาการใช้หน้าจอ (Screen Time Management) จะช่วยในการควบคุมระยะเวลาการใช้แพลตฟอร์มในแต่ละวัน ซึ่งฟีเจอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของสุขภาวะดิจิทัล (Digital Wellbeing) โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้ด้วยรหัสผ่านและสามารถกำหนดเวลาได้หลายช่วง ได้แก่ 40 นาที 60 นาที 90 นาที และ 120 นาที
- การรับทราบข้อมูลที่เป็นจริง (Know the Facts)
ในฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้จะมองเห็นแบนเนอร์แจ้งเตือนปรากฏอยู่บนคอนเทนท์วิดีโอในกรณีที่วิดีโอนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันว่า ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว โดยจะมีข้อความปรากฏขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ได้ฉุกคิดและพิจารณาอีกครั้งว่า จะเลือก “ยกเลิกการแชร์” หรือ “แชร์ต่อไป”
- การกรองความคิดเห็น (Filter Comments)
ในฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้จะสามารถกำหนดได้ว่า Keyword หรือ คำใดที่ไม่อนุญาตให้ปรากฏอยู่ในความคิดเห็น (Comment)ใต้วิดีโอของตัวเอง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถกำหนดได้ว่า ใครที่สามารถแสดงความคิดเห็น (Comment) ใต้วิดีโอของตัวเองได้
- การพิจารณาทบทวน (Rethink)
การแจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนการแสดงความคิดเห็น (Comment) ในวิดีโอของผู้ใช้คนอื่นๆ ซึ่งอาจมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนว่า ต้องการโพสต์ความคิดเห็น (Comment) นั้นหรือไม่
นอกจากนี้ TikTok ยังให้ความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนได้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างมีความรู้และปลอดภัย ผ่านฟีเจอร์ต่างๆ ในโหมด Family Pairing หรือ การแนะนำโดยผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเชื่อมต่อและเข้าไปบริหารจัดการบัญชีของบุตรหลานในการตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับเยาวชน โดยการตั้งค่า โหมด Family Pairing หรือ การแนะนำโดยผู้ปกครอง สามารถทำได้โดยไปที่หน้า การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว (Setting and Privacy) => เลือกที่ Family Pairing หรือ การแนะนำโดยผู้ปกครอง หลังจากนั้นจะสามารถเชื่อมต่อการใช้แพลตฟอร์มระหว่างบัญชีของผู้ปกครองกับบัญชีของบุตรหลาน เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ เกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มของบุตรหลานได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสม (Restricted Mode), การจำกัดเวลาการใช้หน้าจอ (Screen Time Management) รวมถึงการส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ความปลอดภัยอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- การค้นหา (Search)
ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่ากำหนดการค้นหา (Search) ของบุตรหลานได้ ทั้งเนื้อหา ผู้ใช้ แฮชแท็ก และเสียง
- ความคิดเห็น (Comments)
ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ว่า ใครสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น (Comment) ในวิดีโอของบุตรหลานได้ โดยสามารถเลือกเปิดให้ทุกคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือเลือกเฉพาะคนที่รับเป็นเพื่อน หรือเลือกไม่ให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้
- การค้นหาและดูเนื้อหา (Discoverability)
ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting) ให้กับบัญชีของบุตรหลานได้ หรือกำหนดว่า ใครที่สามารถเข้าถึงหรือดูเนื้อหาของบุตรหลานได้ รวมทั้งสามารถตั้งค่าเป็นสาธารณะ (Public) ที่เปิดให้ทุกคนสามารถค้นหาและดูเนื้อหาได้
- วิดีโอที่ชื่นชอบ (Liked Videos)
ผู้ปกครองสามารถกำหนดได้ว่า ใครที่จะสามารถดูวิดีโอที่บุตรหลานของคุณเข้าไปกดไลค์ หรือชื่นชอบได้
ที่มา : TikTok
เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ Digital Marketing Trend เทคนิคการโปรโมทโฆษณา
ติดต่อเรียนการตลาดออนไลน์ Digital Marketing กับอาจารย์หลิง
ทางไลน์ไอดี @ajlink
ติดตามบน Facebook Fanpage : AJLink อาจารย์หลิง