รายงาน Digital Report 2021 ข้อมูลที่สายดิจิทัล ต้องรู้!! รายงาน Digital Report 2021 ข้อมูลที่สายดิจิทัล ต้องรู้!!

รายงาน Digital Report 2021 ข้อมูลที่สายดิจิทัล ต้องรู้!!

ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายในหลายอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย ผู้ใช้งานมักมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในหลายรูปแบบ และพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคยังมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและด้านอื่นๆในอนาคตได้ ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลการรายงาน Digital Stat ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาคุณควรทราบว่ามีข้อมูลใดบ้างที่จะสามารถนำมาใช้ในการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้

ผู้ร่วมค้นคว้าและทำรายงานฉบับนี้ให้สมบูรณ์

ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเอกสารนี้ รายงานฉบับนี้ใช้ข้อมูลล่าสุดในการจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้จัดทำได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุดจึงมีการปรับเปลี่ยนค่าบางอย่าง ดังนั้นตัวเลขต่างๆในรายงานนี้จะไม่สามารถเทียบเคียงได้กับตัวเลขที่คล้ายคลึงกันที่ถูกเผยแพร่ในรายงานดิจิทัลทั่วโลกก่อนหน้านี้ และผู้จัดทำไม่ได้นำข้อมูลที่มาจากแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ จึงอาจส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในรายงานของปีนี้อาจมีค่าต่ำกว่ารายงานก่อนหน้านี้

ข้อมูลภาพรวมจากทั่วโลก

ภาพรวมจากทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงรายงานการเคลื่อนไหวของพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลทั่วโลกที่ถูกจัดทำขึ้นที่แสดงให้เห็นว่า มีประชากรทั้งหมดที่มีการเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ต่างๆจำนวน 7.85 พันล้านคน ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 56.5% จากประชากรในเมืองทั้งหมด ต่อมาคือข้อมูลจำนวนของผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีจำนวน 5.27 พันล้านคนซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 67.1% เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร ต่อมาคือข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต มีจำนวนผู้ใช้งานสูงถึง 4.72 พันล้านคน ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 60.1% เมื่อเปรียบเทียบจากจำนวนประชากร และข้อมูลสุดท้ายคือ จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ มีจำนวน 4.33 พันล้านคน ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 55.1% เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร ซึ่งจากข้อมูลขางต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จำนวนมาก ไม่ใช่เพียงแต่ในเมืองใดเมืองหนึ่งเท่านั้นแต่เกือบทุกประเทศทั่วโลก

รายงานความก้าวหน้าของดิจิทัลจากทั่วโลก ซึ่งจากภาพแสดงให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบความเติบโตระหว่างปี 2020 กับ 2021 จะเห็นว่าในทุกด้านมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นพอสมควร ทั้งในด้านของประชากร การใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งในทุกด้านมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด และยังมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นไปอีกในทุกปี

ในปัจจุบันสื่อมีหลากหลายประเภท และไม่ใช่เพียงติดตามข่าวสารในโซเชียลเท่านั้น แต่ยังมีการใช้ในด้านอื่นอีก เช่น สำหรับการฟังเพลง เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆ จากภาพแสดงถึงรายงานที่เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตบนแพลตฟอร์มต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปีนี้ทั่วโลกต่างใช้เวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆบนโลกอินเทอร์เน็ตลดน้อยลง เช่น การดูสตรีม การใช้โซเชียลมีเดียในการพูดคุย การอ่านบทความออนไลน์ การฟังวิทยุ หรือแม้แต่การเล่นเกมก็ตามแต่ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นั้นจะทำให้ผู้ใช้งานต้องอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่และหากิจกรรมทำมากขึ้น แต่ผู้ใช้งานกลับใช้เวลาในการฟังเพลงมากขึ้นซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 2.2% แม้จะดูเป็นตัวเลขที่ไม่มากนักแต่ก็ดีกว่าลดลง

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกซึ่งมีจำนวนการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งหมด 4.72 พันล้านคน ซึ่งคิดเป็น 60.1% ซึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้นถือว่ามีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 7.6% หรือประมาณ 332 ล้านคน ซึ่งค่าเฉลี่ยในการใช้เวลาของผู้บริโภคบนโลกอินเทอร์เน็ตประมาณ 6 ชั่วโมง 56 นาที และจากข้อมูลจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่เป็นโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีจำนวนมากถึง 92.8% ซึ่งหมายความว่าเกือบจะทุกๆคนจากทั่วโลกที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ

จากภาพแสดงถึงมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกซึ่งค่าต่างๆที่แสดงเป็นการเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรที่มี โดยนำเสนอเพื่อการอ้างอิงให้ได้แง่มุมและมุมมองที่แตกต่างกัน

จากภาพแสดงถึงข้อมูลของการใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกที่ถูกคิดออกมาเป็นอัตราร้อยละ เพื่อให้สามารถเข้าใจและเปรียบเทียบกันได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวเลขต่ำสุดอยู่ที่ 24.4% ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออก และตัวเลขสูงสุดอยู่ที่ 97.0% ในแถบทวีปยุโรปเหนือ ซึ่งแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไทยอยู่ในระดับกลางๆคือ คิดเป็น 69.0%

จากภาพแสดงถึงจำนวนของการใช้งานและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในหลายๆประเทศทั่วโลก ที่ถูกเฉลี่ยออกมาเป็นจากภาพแสดงถึงให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศเดนมาร์ก และประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 99.0% และประเทศที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตน้อยที่สุดคือ ประเทศเอธิโอเปีย คิดเป็น 20.6% ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยในหลายๆอย่าง และเช่นเดียวกัน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 39 จากทั้งหมด 54 อันดับ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 69.5% ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของทั่วโลกก็ยังถือว่าสูงกว่าไม่มากเท่าที่ควร

จากภาพแสดงถึงการแบ่งปันผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกโดยภูมิภาค ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแถบประเทศที่มีอัตราร้อยละมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออก คิดเป็น 25.1% และในแถบประเทศที่มีอัตราร้อยละต่ำที่สุด คือ ในเขตโอเชียเนีย และ เขตแคริบเบียน ที่คิดเป็น 0.6%

จากภาพแสดงถึงจำนวนของประชากรในแต่ละทวีปหรือภูมิภาคที่ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยมีหน่วยเป็นล้าน ซึ่งจากภาพจะเห็นว่าภูมิภาคที่มีจำนวนของประชากรที่ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ เอเชียใต้ โดยมีจำนวนผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจำนวน 1,126 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมากเลยทีเดียว และภูมิภาคที่มีประชากรไม่ได้เชื่อมต่อหรือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตน้อยที่สุด คือ ยุโรปเหนือ มีผู้ที่ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียงแค่ 3 ล้านคนเท่านั้น

จากภาพแสดงถึงข้อมูลการใช้งานหรือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมากถึง 4.38 พันล้าน โดยรวมทั้งการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนตัว และ WIFI ซึ่งถูกคิดออกมาเป็น 92.8% จากจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมด ซึ่งโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบธรรมดาและสมาร์ทโฟนที่ทันสมัย ซึ่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คิดเป็น 91.5% จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมดที่ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ และ จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือธรรมดา มีจำนวน 4.8% ซึ่งก็ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งยังมีการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้คร่าวๆคือ ประมาณ 3 ชั่วโมง 36 นาที

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและอัตราการเปลี่ยนแปลงในปีถัดมา ซึ่งแบ่งความเร็วออกเป็น 3 ส่วนคือ ความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการอัพโหลด และเวลาที่ใช้ ซึ่งจากภาพจะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยในการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ คิดเป็น 48.40 MBPS การอัพโหลด คิดเป็น 12.60 MBPS และเวลาที่ใช้คือ 37 MS (มิลลิวินาที) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงปีถัดไป ความเร็วเฉลี่ยในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ในด้านของการดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 58.8% การอัพโหลดเพิ่มขึ้น 17.4% และใช้เวลาลดลง 11.9% ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หรือสามารถเรียกได้ว่าความเร็วในการเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลงจากเดิม ซึ่งในมุมของอินเทอร์เน็ตคงที่หรือเน็ตบ้านความเร็วเฉลี่ยในการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตคงที่สูงกว่าอินเทอร์เน็ตของโทรศัพท์มือถือ โดยคิดเป็น 98.67 MBPS การอัพโหลด คิดเป็น 53.22 MBPS และเวลาที่ใช้คือ 20 MS (มิลลิวินาที) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงปีต่อปีในความเร็วเฉลี่ยในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ในด้านของการดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 32.2% การอัพโหลดเพิ่มขึ้น 32.5% และใช้เวลาลดลง 16.7% ซึ่งสรุปได้ว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบคงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ โดยแบ่งเป็นทั้งประเทศที่มีความเร็วมาก และประเทศที่มีการเชื่อมต่อช้า ซึ่งประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่เร็วที่สุดคือ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รองลงมาคือประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศกาตาร์ ซึ่งอยู่ใน 3 อันดับแรกและยังมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสำหรับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือต่ำที่สุด คือ ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน และประเทศเวเนซุเอลา ทั้งยังมีอัตราการเพิ่มขึ้นต่อปีต่ำอีกด้วย

จากภาพแสดงถึงลำดับเกี่ยวกับความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือจากแต่ละประเทศทั่วโลกโดยความเร็วเฉลี่ยจากทั่วโลกอยู่ที่ 48.40 MBPS ซึ่งประเทศไทยมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 47.11 MBPS ถึงแม้จะน้อยกว่าความเร็วเฉลี่ยของทั่วโลกแค่อันดับเดียวแต่ก็ถือว่าเรายังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อให้มีความก้าวหน้าด้านความเร็วมากขึ้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่หรือเน็ตบ้าน โดยแบ่งเป็นทั้งประเทศที่มีความเร็วมาก และประเทศที่มีการเชื่อมต่อช้ามาก ซึ่งประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่ที่มีความเร็วที่สุดคือ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย และ ประเทศฮ่องกง ตามลำดับ และสำหรับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่ต่ำที่สุด คือ ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศคิวบา และประเทศเยเมน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับที่เกี่ยวกับความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่จากแต่ละประเทศทั่วโลกโดยความเร็วเฉลี่ยจากทั่วโลกอยู่ที่ 98.67 MBPS ซึ่งในเรื่องของอินเทอร์เน็ตคงที่ของประเทศไทยพบว่าประเทศไทยมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 230.59 MBPS หรืออันดับที่ 2 ของโลก แม้ว่าจะเคยเป็นที่หนึ่งแล้วตกลงมาที่สองก็ตามแต่ยังสามารถรักษาอันดับไว้ได้เท่านี้ก็ถือว่ายังพอเป็นที่น่าพึงพอใจมากแล้ว

จากภาพแสดงถึงอัตราการเข้าชมเว็บไซต์โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ผ่านอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยแบ่งได้ดังนี้ การเข้าเว็บผ่านโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 54.18% การเข้าผ่านแล็ปท็อปคิดเป็น 42.90% การเข้าผ่านแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์คิดเป็น 2.84% และการเข้าจากอุปกรณ์อื่นๆ คิดเป็น 0.08% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2020 กับปี 2021 ในช่วงเวลาเดียวกันพบว่าการใช้งานบนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ มีอัตราเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ในส่วนของแล็ปท็อปและอุปกรณ์อื่นๆ มีอัตราลดลงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงอันดับของแพลตฟอร์มเว็บเบราว์เซอร์ที่มีผู้คนสนใจและใช้งานมากที่สุดและเรียงลำดับไปยังน้อยที่สุด โดยแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเยอะที่สุด คือ Chrome โดยคิดเป็น 64.2% เลยทีเดียว และอันดับ 2 คือ Safari ซึ่งผู้ที่จะใช้บริการเว็บเบราว์เซอร์นี้ได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือรุ่น Apple อย่างแน่นอนซึ่งคิดเป็น 19.0% และในอันดับอื่นๆก็เป็นอัตราร้อยละที่ค่อนข้างห่างจากอันดับ 2 มาก ซึ่งในบางแพลตฟอร์มอาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยก็ว่าได้

จากภาพแสดงถึงเหตุผลในการใช้งานซึ่งในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคนั้นก็ถูกใช้ด้วยเหตุผลที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่ในการเข้าเว็บเบราว์เซอร์นั้นถูกใช้เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆมากถึง 63.3% เลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าการค้นหาข้อมูลโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายสุดจึงเป็นเหตุผลให้มีคนใช้งานเพื่อสิ่งนี้มากที่สุด

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมและเข้าถึงมากที่สุดในโลก ซึ่งเว็บไซต์ยอดนิยมคือ Google.com เพราะผู้คนส่วนใหญ่เข้ามาใช้งานก็เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ และเว็บค้นหาข้อมูลที่ดีและครอบคลุมที่สุดก็คือ Google  และที่รองลงมาคือ Youtube.com หรือเว็บด้านความบันเทิงนั่นเอง ตอนนี้ผู้ใช้งานเริ่มใช้งานการฟังเพลงมากขึ้นทำให้เว็บไซต์ Youtube ถูกเข้าถึงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 นั่นเอง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมและเข้าถึงมากที่สุดในโลกในส่วนของเว็บที่มีรูปแบบคล้ายๆกัน โดย 3 อันดับแรกยังคงตกเป็นของ Google.com Youtube.com และ Facebook.com

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมและเข้าถึงมากที่สุดในโลก โดย 3 อันดับแรกตกเป็นของ Google.com Youtube.com และ Tmall.com โดยใช้เวลาในการชมและจำนวนหน้าที่เข้าถึงต่อวันอยู่ในระดับต้นๆเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลออนไลน์ของผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันก็มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งอันดับแรกคือการค้นหาข้อมูลแบบทั่วไป เช่น Google เป็นต้น โดยคิดเป็น 98.0% ต่อมาคือการค้นหาข้อมูลโดยใช้เสียงหรือคำพูดของผู้ค้นหานั่นเองคิดเป็น 46.7% ซึ่งสามารถทำได้ผ่านหลายๆแพลตฟอร์มเพราะในหลายแพลตฟอร์มเริ่มมีการปรับเปลี่ยนให้รองรับมากยิ่งขึ้น ต่อมาคือการหาข้อมูลตามแบรนด์ต่างๆ คิดเป็น 44.7% และสุดท้ายคือการค้นหาภาพหรือการบันทึกภาพต่างๆ เช่น Pinterest เป็นต้น ซึ่งคิดเป็น 33.8%

จากภาพแสดงถึงธุรกิจเครื่องมือค้นหาออนไลน์ที่หลากหลาย แต่ไม่ว่าอย่างไรอันดับหนึ่งที่ครองใจผู้คนทั่วโลกคือ Google ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่เสมอและมีโอกาสอยู่เรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงข้อความหรือคำที่นิยมใช้เพื่อค้นหามากที่สุดใน Google คือ Google Youtube และ Facebook ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงอันดับการใช้งานการสั่งการด้วยเสียง โดยประเทศที่มีการใช้เสียงในการค้นหามากที่สุดคือประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศอินโดนีเซีย ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในอันดับที่ 4 ถือว่าเป็นประเทศในอันดับต้นๆเช่นเดียวกัน

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เสียงในการค้นหา แสดงให้เห็นว่ามักเป็นกลุ่มคนอายุ 16-24 ปี เพศชาย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวัยที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งกลุ่มคนเพศหญิงในช่วงวัยนี้ก็ใช้งานสูงถึง 51.0% เลยทีเดียวแต่ก็ยังคงน้อยกว่าเพศหญิง และเพศชาย อายุ 25-34 ปีอยู่ดี

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการใช้เครื่องมือการบันทึกภาพบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งประเทศที่มีการใช้งานเครื่องมือนี้มากที่สุดคือ ประเทศเม็กซิโก ประเทศบราซิล และ ประเทศโคลอมเบีย ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เครื่องมือบันทึกภาพบนโทรศัพท์มือถือมักเป็นกลุ่มคนอายุ 16-24 ปี เพศหญิง และจะสังเกตได้ว่าในทุกช่วงอายุจะมีผู้หญิงใช้งานเครื่องมือนี้มากกว่าผู้ชายเสมอ อย่างที่เขาบอกว่าผู้หญิงมักเป็นฝ่ายที่เก็บรายละเอียดหรือข้อมูลต่างๆเป็นรูปภาพมากกว่าผู้ชาย

จากภาพแสดงถึงอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารหรือสนทนา ในปัจจุบันการสื่อสารนั้นมีความสะดวกมาก และช่องทางการสื่อสารก็ยังมีเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งช่องทางที่ถูกใช้มากที่สุด คือการใช้เพื่อเยี่ยมชมโซเชียลสูงถึง 98% รองลงมาคือ การใช้งานการสนทนาผ่านแอปพลิเคชัน บริการการส่งข้อความ ถัดมาคือใช้เพื่อเข้า Email ซึ่งสำหรับคนทำงานคงจะได้ใช้บ่อยที่สุด ต่อมาคือการโทรคุยคล้ายกับโทรผ่านเครือข่ายมือถือแต่เปลี่ยนมาใช้การโทรโดยใช้อินเทอร์เน็ตแทน และอันดับสุดท้ายคือ การสนทนาด้วยวิดีโอที่สามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์มือถือและในปัจจุบันยังสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์อื่นๆได้อีกด้วย

จากภาพแสดงถึงอันดับการใช้งาน Email บนเว็บ โดยมีค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 78.7% และ 3 อันดับแรกที่มีการใช้งานมากที่สุดคือ ประเทศโปรตุเกส ประเทศโคลอมเบีย และประเทศเม็กซิโก ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงวัยที่มีการใช้งาน Email บนเว็บมากที่สุดคือช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิง ซึ่งถ้าหากมองตามจริงแล้วทุกช่วงวัยและทุกเพศมีอัตราการใช้งาน Email บนเว็บอยู่ในระดับใกล้เคียงกันมาก เรียกได้ว่าใช้งานกันทุกเพศทุกวัย

จากภาพแสดงถึงอันดับของการใช้งานการสนทนาแบบวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือถูกจัดเรียงไว้ 3 อันดับแรกดังนี้ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไนจีเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ตามลำดับ ซึ่งในการใช้งานการสนทนารูปแบบวิดีโอนั้นประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกด้วยซ้ำ แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีแนวโน้มมากขึ้นก็ได้ เพราะการสนทนาแบบวิดีโอเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่มีการใช้งานการสนทนารูปแบบวิดีโอบนโทรศัพท์มือถือมากที่สุด คือช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิง เนื่องจากยังเป็นช่วงวัยที่ยังสามารถรับสิ่งใหม่ๆได้จึงทำให้สามารถใช้งานการสนทนารูปแบบนี้ได้ง่ายมากขึ้น และผู้หญิงเราการได้พูดคุยแบบเห็นหน้ากับใครสักคนถือเป็นเรื่องที่ดี

จากภาพแสดงถึงในการใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์แน่นอนว่ามักจะมีเนื้อหาที่เราสนใจและเนื้อหาใหม่ๆให้เราได้ติดตามอยู่เสมอ ซึ่งจากการจัดอันดับพบว่ามีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวิดีโอ รายการโชว์ หรือภาพยนตร์ต่างๆในอินเทอร์เน็ตมากถึง 93.3% ซึ่งไม่ค่อยน่าแปลกใจเพราะว่าสถานการณ์หลายอย่างทำให้เกิดความเครียดและการได้รับชมสื่อต่างๆทำให้สามารถคลายเครียดได้ ซึ่งลำดับต่อมาคือการฟังเพลง สตรีมต่างๆ การดูวิดีโอที่มีคนจัดทำขึ้นหรือ VLOGS การฟังวิทยุออนไลน์ และการฟังpodcasts เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเข้าชมวิดีโอ VLOGS จากทั่วโลก โดยค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 51.7% และค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่อันดับสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอินเดียตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่เลือกชม VLOGS มากที่สุดคือ ช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิง ซึ่งตัวเลขก็มีความใกล้เคียงกับเพศชายในช่วงอายุเดียวกันด้วย

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการฟัง Podcasts จากประเทศทั่วโลก โดยค่าเฉลี่ยการฟัง Podcasts จากทั่วโลกอยู่ที่ 44.8% โดย 3 ประเทศแรกที่มีการฟัง Podcasts มากที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศจีน และประเทศซาอุดิอาระเบีย ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่ใช้งานการฟัง Podcasts มากที่สุดคือช่วงอายุ 24-34 ปี เพศชาย อาจจะด้วยเป็นช่วงวัยที่ต้องการรับความรู้แบบที่ไม่ต้องอ่านเองจึงเป็นช่วงวัยที่มีการใช้งานมากที่สุด

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเล่นวิดีโอเกมบนอุปกรณ์ต่างๆตั้งแต่ช่วงอายุ 16-64 ปี โดยประเภทที่มีอัตราร้อยละมากที่สุดคือ อุปกรณ์อื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมากถึง 86.1% ต่อมาคือ การเล่นบนสมาร์ทโฟน การเล่นบนแล็ปท็อป อุปกรณ์สำหรับเล่นเกมเฉพาะ การเล่นผ่านแท็บเล็ต และอื่นๆตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงอัตราการเล่นวิดีโอเกมจากทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยคือ 86.1% และ 3 อันดับแรกจากทั่วโลกที่มีการเล่นวิดีโอเกมมากที่สุดคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 2 เลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่มีการเล่นวิดีโอเกมมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 16-24 ปี เพศชาย หากเป็นเรื่องของการเล่นวิดีโอเกมเพศชายมักจะมีอัตราร้อยละนำฝ่ายหญิงในทุกช่วงวัย

จากภาพแสดงถึงสถิติการใช้งานกิจกรรมอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับการเล่นเกม โดยจัดอันดับได้ตามนี้ เข้าชมการแข่งขันเกมประเภท Esports เข้าชมการถ่ายทอดสดการเล่นเกมของบุคคลที่ผู้ใช้งานให้ความสนใจ ซื้อไอเท็มหรือคุณสมบัติต่างๆในเกม แบ่งปันรูปภาพหรือวิดีโอเมื่อชนะการเล่น และสุดท้ายคือ เล่นเกม

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์สมาร์ทโฮมมากที่สุด ซึ่ง 3 อันดับแรกคือ สหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยเรากลับอยู่ในอันดับท้ายๆเลย

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด แน่นอนอยู่แล้วว่าโลกออนไลน์ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดจำเป็นต้องมีข้อมูลยืนยันตัวตน ซึ่งจะแน่ใจได้มากเพียงใดว่าการให้ข้อมูลของตนเองในครั้งนี้มีความปลอดภัย ซึ่ง 3 อันดับแรกที่จริงจังอย่างมากกับการให้ข้อมูลคือ ประเทศโปรตุเกส ประเทศสเปน และ ประเทศบราซิล ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงวัยที่มีความกังวลในข้อมูลส่วนตัวมากที่สุดคือ ช่วงวัย 55-64 ปี เพศชายและเพศหญิง ซึ่งมีความกังวลสูงกว่าช่วงวัยอื่นๆ อาจเป็นเพราะว่าช่วงอายุที่มากขึ้นจึงทำให้เกิดความไม่เข้าใจในเทคโนโลยีและโลกออนไลน์มากนักและยังเป็นช่วงอายุที่ต้องการความมั่นใจและปลอดภัยมากที่สุดจึงเกิดความกังวลมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ

การใช้งาน Social Media

จากภาพแสดงถึงผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่มีอยู่ทั้งหมด โดยมีจำนวนมากถึง 4.33 พันล้านคน คิดเป็น 55.1% จากประชากรทั่วโลก และเมื่อเปรียบเทียบรายปีพบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 13.7% หรือประมาณ 521 ล้านคน โดยอุปกรณ์ที่ใช้เข้าถึงคือโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 99.0% ซึ่งยังพบอีกว่าเวลาที่ใช้ในการเข้าโซเชียลมีเดียต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 22 นาที

จากภาพแสดงถึงอัตราการใช้งานโซเชียลมีเดียวทั่วโลกโดยเมื่อเปรียบเทียบจะเห็นว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากภาพแสดงถึงเหตุผลในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ เพราะในทุกการใช้งานไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียทุกคนก็ต่างมีเหตุผลที่หลากหลายในการใช้งาน แต่มีเหตุผลสำคัญหนึ่งข้อที่เป็นเหตุผลหลักในการเลือกใช้งานโซเชียลมีเดียของคนทั่วโลกเลยก็ว่าได้ นั่นคือ การใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือครอบครัว ซึ่งนี่คงเป็นเหตุผลหลักๆที่คนเลือกใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น

จากภาพแสดงถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่มากที่สุดคือการส่งข้อความต่างๆบนSocial Network คิดเป็น 98.9% การเข้าใช้งานโซเชียลแพลตฟอร์มมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.3 การใช้งานโซเชียลเพื่อค้นหาเนื้อหาที่สร้างความบันเทิง การติดตามหรือค้นหาแบรนด์ที่สนใจ และการใช้เพื่อการทำงานตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงแพลตฟอร์มที่คนทั่วโลกนิยมใช้งานกันสูงสุดอันดับหนึ่งได้แก่ Facebook นั่นเองซึ่งก็มีถึง 2,797 ล้านคน ซึ่งทุกคนทั่วโลกคงรู้จักเป็นอย่างดี

จากภาพแสดงถึงตารางแสดงการใช้แพลตฟอร์มต่างๆของผู้ใช้บริการที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่มีใครใช้งานแพลตฟอร์มเดียวไปตลอดซึ่งแพลตฟอร์มที่มีความเกี่ยวข้องกันมากที่สุดมีอยู่ 3 แพลตฟอร์ม คือ Facebook Youtube และ Instagram

จากภาพแสดงถึงแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด แม้ว่า Facebook จะมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากแต่จากการสำรวจผู้บริโภคแล้วพบว่าแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุดคือ Whatsapp ส่วน Facebook นั้นตกอยู่ในอันดับที่สองซึ่งก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะอะไร Facebook ยังไม่ได้ครองใจผู้ใช้งานเป็นอันดับที่หนึ่ง

จากภาพแสดงถึงความชื่นชอบในแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกันออกไปซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงวัยและเพศด้วย ซึ่งในเพศหญิง และเพศชาย อายุ 16-24 ปีมีความชื่นชอบใน Instagram มากเหมือนกัน ต่อมาช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิงยังคงชื่นชอบ Instagram แต่เพศชายกลับมีความชื่นชอบ Facebook มากกว่า และในช่วงอายุอื่นๆนั้นมีความชื่นชอบใน Whatsapp มากที่สุดไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม

จากภาพแสดงถึงการใช้งานสื่อต่างๆบนโลกออนไลน์โดยบัญชีหลักที่มีความสำคัญที่ผู้ใช้งานสนใจคือ การติดตามเพื่อน ครอบครัว หรือคนอื่นๆที่เรารู้จัก ซึ่งอาจเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลกใช้สื่อออนไลน์ เพื่อไว้ติดต่อเขาเหล่านั้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการติดตามผู้ที่มีอิทธิพลหรือคนดังบนโลกออนไลน์ ซึ่ง 3 อันดับแรกที่มีการติดตามคนดังเหล่านั้นมากที่สุดคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศบราซิล และประเทศเคนยา ตามลำดับซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับท้ายจากทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลกอย่างมาก

จากภาพแสดงถึงกลุ่มคนช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิงที่ให้ความสนใจและความสำคัญกับการติดตามผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลและผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดจากทั้งหมด

จากภาพแสดงถึงจำนวนของผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆเพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับแบรนด์ที่สนใจ โดยแบ่งได้ดังนี้ แพลตฟอร์มประเภทใดก็ได้คิดเป็น 72.1% สังคมออนไลน์ 44.7% เว็บไซต์ตอบคำถาม 20.8% กระดานข้อความเพื่อโต้ตอบ 16.7% บริการส่งข้อความและการแชทสด 16.1% ไมโครบล็อก เช่น ทวิตเตอร์ 15.2% VLOGS 13.8% และสุดท้ายคือ pinboards ออนไลน์ เช่น Pinterest เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการใช้โซเชียลมีเดียในการค้นหาข้อมูลของแบรนด์ โดย 3 อันดับที่มากที่สุดคือ ประเทศไนจีเรีย ประเทศกานา และ ประเทศเคนยา ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

จากภาพแสดงถึงกลุ่มคนช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิงมักใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มในการค้นหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับแบรนด์

Facebook แพลตฟอร์มแห่งการเชื่อมต่อคุณและคนที่คุณรู้จัก

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของผู้ชมโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook โดยมีจำนวนบัญชีผู้ใช้งานที่โฆษณาของ Facebook สามารถเข้าถึงได้จำนวน 2.21 พันล้านบัญชี ซึ่งจำนวนของผู้ชมที่นำมาเปรียบเทียบกับผู้ใช้งานอายุ 13 ปีขึ้นไป คิดเป็น 36.2% ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาสจะเห็นได้ว่ามีอัตราการเข้าถึงโฆษณาเพิ่มมากขึ้นคิดเป็น 1.2% หรือ 27 ล้านคน โดยแบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยคิดเป็นเพศชาย 56.3% และเพศหญิงคิดเป็น 43.7%

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบระหว่างผู้ใช้ที่ใช้งาน Facebook ในการติดตามเรื่องอื่นๆ กับ ผู้ใช้งานที่ชมโฆษณาตลอดเวลาจะเห็นได้ว่าในแต่ละไตรมาสมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้รับชมโฆษณาหลักของ Facebook ได้แก่ช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย ต่อมาคือช่วงอายุ 18-24 ปี เพศชาย และอันดับ 3 คือช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการโฆษณาใน Facebook ของประเทศต่างๆซึ่ง 3 อันดับแรกเป็นประเทศที่มีการเข้าถึงการโฆษณามากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอินโนนีเซีย ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของผู้ชมที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงของ Facebook โดย 3 อันดับที่มีประชากรเข้าถึงได้มากที่สุดคือ ประเทศมองโกเลีย ประเทศลิเบีย และประเทศฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการเข้าถึง Facebook โดยใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่งสามารถคิดอัตราร้อยละออกมาได้ดังนี้ การเข้าถึง Facebook บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือทุกประเภท คิดเป็น 98.4% และการเข้าถึงผ่านคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อป 1.6% และในการเข้าถึงผ่านทั้งทางโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์คิดเป็น 17.4% และที่เหลืออีก 81.0% เป็นการเข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

จากภาพแสดงถึงระบบปฏิบัติการที่ถูกใช้เพื่อเข้าถึง Facebook โดยแบ่งออกเป็นดังนี้ การใช้แอปพลิเคชั่นหรืออุปกรณ์ของระบบแอนด์ดรอย คิดเป็น 81.4% การใช้แอปพลิเคชั่นหรืออุปกรณ์ของระบบIOS คิดเป็น 14.7% และการเข้าถึงผ่านการเข้าจากเว็บไซต์ หรือเว็บเบราว์เซอร์คิดเป็น 3.9%

จากภาพแสดงถึงอัตราความถี่ในการใช้งาน Facebook และกิจกรรมที่ผู้ใช้งานมักจะทำโดยแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบคือ จำนวนหน้าของ Facebook ที่ชื่นชอบ โพสต์ที่ชื่นชอบในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นในช่วง 30 วันที่ผ่านมา การแชร์โพสต์ของ Facebook ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และ โฆษณาที่คลิกบน Facebook ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุ 35-44 ปี เพศหญิงเป็นช่วงอายุที่มีการกดถูกใจโพสต์ใน Facebook มากที่สุดรองลงมาคือ ช่วงอายุ 45-54 ปีเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับกลุ่มประเทศที่มีการกดถูกใจโพสต์ใน Facebook มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกดังนี้ ประเทศกรีซ ประเทศโรมาเนีย และประเทศออสเตรเลียตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุ 45-54 ปี และ 55-64 ปี เพศหญิงเป็นช่วงวัยที่มักจะแสดงความคิดเห็นบน Facebook อยู่บ่อยครั้ง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับตามภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นผ่าน Facebook โดย 3 อันดับแรกที่มีประชากรชอบแสดงความคิดเห็นมากที่สุดคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอียิปต์ และประเทศออสเตรเลีย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุ 45-54 ปี และ 55-64 ปี เพศหญิงที่มักมีการคลิกโฆษณาที่ปรากฏบน Facebook เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่รู้ว่าเป็นการโฆษณา หรืออาจจะเป็นโฆษณาที่ตรงกับความสนใจจึงคลิกเข้าไปดูอยู่บ่อยครั้ง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับตามภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคลิกโฆษณาบน Facebook โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ประเทศอิสราเอล ประเทศเดนมาร์ก และ ประเทศออสเตรเลีย

จากภาพแสดงถึงอัตราการโพสต์บน Facebook และประเภทของโพสต์ โดยค่าเฉลี่ยของโพสต์ที่ถูกอัพโหลดในแต่ละวัน คิดเป็น 2.32 ซึ่งประเภทของโพสต์ก็มีตั้งแต่ รูปภาพ วิดีโอ LINKเข้าสู่เว็บต่างๆ และสุดท้ายคือการอัพเดทสถานะใน Facebook

จากภาพแสดงถึงการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงใน Facebook Page ที่ถูกแบ่งออกตามแต่ละรูปแบบของโพสต์ ซึ่งผลแสดงออกมาว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมของการเข้าถึงโพสต์ทุกประเภทคือ 0.10% และเมื่อแยกออกมาเป็นแต่ละประเภทจะเห็นได้ว่า การโพสต์สถานะหรือสเตตัสใน Facebook และการโพสต์รูปภาพ ทำให้คนมีส่วนร่วมและเข้าถึงได้มากที่สุดจากทุกประเภท

จากภาพแสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับ Facebook Page ซึ่งการเข้าถึงเพจจากผู้ใช้งานนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเพจด้วย เริ่มจากการมีผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 คน จะมีผู้ที่สามารถเข้าถึงได้ 0.39% ซึ่งสังเกตได้ว่ายิ่ง Facebook Page ที่ผู้ติดตามหรือสนใจมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าการมีส่วนร่วมจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ตรงกันข้ามยิ่งผู้ติดตามเยอะ Facebook Page กลับลดการมีส่วนร่วมของเพจนั้นๆลง

Youtube แพลตฟอร์มที่ใช้เพื่อการฟังเพลงหรือสร้างความบันเทิงให้กับทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของแพลตฟอร์ม Youtube ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีผู้ใช้งานที่สามารถเข้าถึง Youtube ได้เป็นจำนวน 2.29 พันล้านบัญชี และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานมักจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้ใช้งานโดยส่วนใหญ่เรามักใช้ Youtube ในการสร้างความบันเทิงในเนื้อหาต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งานที่รับชมวิดีโอโฆษณาของ Youtube มากที่สุดคือกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีประชากรที่สามารถเข้าถึงโฆษณาของ Youtube ได้มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศอินเดีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศบราซิลตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยของเราก็ถูกจัดอยู่ลำดับที่ 18 แม้ว่าจะเป็นอันดับที่ไม่ได้สูงมากนักแต่ก็ยังพอมีหวังให้คนทำธุรกิจประเภทนี้ในไทยมีโอกาสก้าวหน้ามากขึ้น

Instagram คือแพลต์ฟอร์มที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมอบความบันเทิงให้เช่นเดียวกันและยังสามารถติดตามความเคลื่อนไหวบุคคลที่เราสนใจผ่านรูปภาพหรือวิดีโอได้อีกด้วย

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการใช้งานและการเข้าถึงโฆษณาของแพลตฟอร์ม Instagram จะเห็นได้ว่า ผู้ใช้งานที่เข้าถึงโฆษณาใน Instagram ก็มีจำนวนมากถึง 1.29 พันล้านบัญชี ซึ่งยังคงมีโอกาสเติบโตอยู่เสมอ และกลุ่มผู้ใช้งานมักจะเป็นกลุ่มเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาจเป็นเพราะว่า Instagram มีไว้เพื่อโพสต์รูปภาพและวิดีโอซึ่งผู้ชายอาจไม่ถนัดสักเท่าไหร่

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานที่เข้าถึงโฆษณาของ Instagram ได้มากที่สุด มักจะเป็นกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย ซึ่งถัดมาก็คือ เพศหญิงในช่วงอายุเดียวกัน และกลุ่มที่กำลังอยู่ในอันดับต้นๆคือ กลุ่มช่วงอายุ 18-24 ปี และไม่แน่ว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงช่วงอายุไปเป็นกลุ่มคนในวัยนี้ก็ได้

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีประชากรสามารถเข้าถึงการโฆษณาบน Instagram ได้มากที่สุด ซึ่ง 3 อันดับแรกคือ ประเทศอินเดีย ประเทศาหรัฐอเมริกา และประเทศบราซิลตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยก็ถูกจัดอยู่ลำดับที่ 15 ซึ่งก็ยังถือว่าผู้ทำธุรกิจผ่านช่องทาง Instagram ในประเทศไทยยังพอมีหวังอยู่บ้าง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีประชากรที่มีสิทธิ์เข้าถึงโฆษณาของ Instagram มากที่สุดโดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศคาซัคสถาน ที่ยังคงครองที่หนึ่งอยู่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ต่อมาคือ ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศสวีเดนตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงข้อมูลสำหรับการทำธุรกิจบน Instagram ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเติบโตของบัญชีธุรกิจใน Instagram ค่าเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1.71% และส่วนใหญ่ประเภทของการโพสต์ที่มีมากที่สุดคือรูปภาพซึ่งคิดเป็น 64.4% จากทุกรูปแบบ

จากภาพแสดงถึงการโพสต์ใน Instagram ซึ่งประเภทของโพสต์ที่มีการเข้าถึงมากที่สุดคือการโพสต์แบบหลายๆภาพในโพสต์เดียว

จากภาพแสดงถึงข้อมูลการเข้าถึงและมีส่วนร่วมที่ถูกวัดด้วยจำนวนผู้ติดตามที่ต่างกันจะเห็นได้ชัดว่ายิ่งผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 ก็ยิ่งได้รับการมีส่วนร่วมมมากขึ้น และเมื่อผู้ติดตามสูงขึ้นก็อาจเป็นผลให้การมีส่วนร่วมของผู้ติดตามลดน้อยลง

แพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้พอๆกับ Facebook คือ Facebook Messenger ซึ่งข้อดีของมันคือเราสามารถพูดคุยติดต่อกันได้ไม่ว่าเราจะไกลกันแค่ไหนเพียงแค่เชื่อมต่อกันบน Facebook

จากภาพแสดงถึงภาพรวมที่แสดงถึงผู้ชมโฆษณาบน Facebook Messenger จะเห็นได้ว่ามีผู้ใช้งานจำนวน 1.01 พันล้านคน แต่ผลจากไตรมาสก่อนๆกลับแสดงให้เห็นว่ามีการใช้งานและเข้าถึงลดน้อยลงจากเดิม ซึ่งนี่คือสิ่งที่ Facebook Messenger ต้องหาทางพัฒนา และกลุ่มผู้ใช้งานมักจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานหลักที่รับชมโฆษณาของ Facebook Messenger ซึ่งมักเป็นกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย ซึ่งมีความแตกต่างจากช่วงอายุและเพศอื่นๆไปมากเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเข้าถึงโฆษณาของ Facebook Messenger โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศอินเดีย ประเทศบราซิล และประเทศเม็กซิโก ถึงแม้ว่าจะอยู่ใน 3 อันดับแรกแต่ทั้ง 3 ประเทศในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาก็มีอัตราการเข้าถึงที่ลดลงมากอยู่เหมือนกัน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่ประชากรที่มีสิทธิ์เข้าถึง Facebook Messenger มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศมองโกเลีย ประเทศมอลตา และประเทศไอซ์แลนด์ตามลำดับ

Linkedin เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการหางานหรือการฝึกงานเพราะเป็นการเชื่อมต่อกับบุคคลอื่นๆอย่างมืออาชีพ และใช้งานเพื่อสร้างทักษะเพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้งาน

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการโฆษณาใน Linkedin พบว่ามีผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโฆษณาของ Linkedin ได้จำนวน 745.6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อย และจากไตรมาสที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า Linkedin มีการเติบโตขึ้น และกลุ่มผู้ใช้มักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานที่เข้าถึงโฆษณาของ Linkedin มักเป็นกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย รองลงมาคือเพศหญิงในช่วงอายุเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเป็นช่วงวัยที่กำลังมองหาประสบการณ์และความรู้ใหม่ๆพร้อมทั้งทักษะเสริมอื่นๆ จึงทำให้กลุ่มคนช่วงอายุนี้สนใจกว่าช่วงอื่นๆ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของการเข้าถึง Linkedin จากประเทศทั่วโลก โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ตามลำดับ ซึ่งประเทศอินเดียมีอัตราที่จะเติบโตขึ้นเมื่อดูจากไตรมาสที่ผ่านมา

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์เข้าถึงโฆษณาของ Linkedin ได้ โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศอเมริกันซามัว เบอร์มิวดา และประเทศไอซ์แลนด์ตามลำดับ

Snapchat เป็นแพลตฟอร์มในการสนทนาแบบวิดีโอซึ่งความพิเศษคือเราสามารถเลือกแต่งธีมหรือว่าฟิลเตอร์ต่างๆได้ในการวิดีโอแชท

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของกลุ่มผู้ชมโฆษณาบน Snapchat จะเห็นได้ว่าแพลตฟอร์มนี้ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน ซึ่งดูได้จากการเข้าถึงโฆษณาที่สูงถึง 528.2 ล้านคน และถ้าเปรียบเทียบจากไตรมาสที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีโอกาสในการเติบโตอยู่เรื่อยๆ และกลุ่มที่นิยมใช้งานและเข้าถึงมากที่สุดคือเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุที่เป็นผู้เข้าถึงโฆษณาที่สำคัญของ Snapchat คือกลุ่มช่วงอายุ 13-17 ปีเพศหญิง และจะเห็นได้ว่าในทุกช่วงอายุเพศหญิงมีการเข้าถึงมากกว่าเพศชาย อาจเป็นเพราะว่าแพลตฟอร์มนี้ถูกสร้างมาเพื่อเด็กและผู้หญิงโดยเฉพาะ เพราะซ่อนความน่ารักและฟิลเตอร์ต่างๆไว้ภายในแอพนี้

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเข้าถึงโฆษณาของ Snapchat จากทั่วโลก โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดีย และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์เข้าถึง Snapchat โดยเรียง 3 อันดับสูงสุดได้ดังนี้ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศนอร์เวย์ และประเทศลักเซมเบิร์กเป็นต้น

Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เป็นแพลตฟอร์มที่คนสามารถแสดงความคิดเห็นต่างๆได้ รวมถึงการติดตามข่าวสารต่างๆ

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการเข้าชมโฆษณาผ่าน Twitter ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้เข้าถึงจำนวน 395.9 ล้านบัญชีซึ่งถ้าเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นก็ยังถือว่าไม่มากเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตาม Twitter ยังมีอัตราการเติบโตและเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มคนที่ชมโฆษณามักเป็นกลุ่มคนเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มหลักที่เรียกว่าเป็นผู้เข้าชมโฆษณาของ Twitter มากที่สุดคือ กลุ่มคนช่วงอายุ 25-34 ปีเพศชาย ซึ่งเป็นกลุ่มและเพศที่โดดเด่นจากกลุ่มช่วงวัยอื่นๆมากเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการเข้าถึงโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Twitter โดย 3 อันดับสูงสุดเรียงดังนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย ซึ่งบนแพลตฟอร์มนี้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 13 จากทั่วโลก และมีโอกาสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีโอกาสขึ้นไปถึงอันดับต้นได้

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศหรือผู้ชมโฆษณาที่มีสิทธิ์เข้าถึง Twitter มากที่สุดตามลำดับดังนี้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศเปอร์โตริโก เป็นต้น ซึ่งประเทศอันดับ 3 อย่างเปอร์โตริโกก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสิทธิ์ในการเข้าถึงอยู่สม่ำเสมอ

Pinterest เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการค้นหารูปภาพที่สนใจทั้งยังสามารถเผยแพร่รูปภาพที่โดดเด่นของตนเองได้อีกด้วย ทุกคนจะทราบกันดีว่า Pinterest มีไว้เพื่อหาแรงบันใจที่ถูกส่งออกมาในรูปแบบของรูปภาพเป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของผู้ชมโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Pinterest ซึ่งมีผู้เข้าถึงโฆษณาใน Pinterest ได้มากกว่า 218.9 ล้านคน และในไตรมาสที่ผ่านมายังมีอัตราเพิ่มขึ้นอีกด้วยซึ่งเป็นที่น่าพึงพอใจของเจ้าของแพลตฟอร์ม และกลุ่มผู้ใช้งานหลักคือเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่เข้าชมโฆษณาของ Pinterest มากที่สุดคือ กลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิง ซึ่งมีอัตราร้อยละที่สูงกว่าเพศอื่นและช่วงวัยอื่นๆมาก

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่ประชากรเข้าถึงโฆษณาของ Pinterest ได้มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศบราซิล และประเทศเยอรมัน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศของผู้ชมโฆษณาที่มีสิทธิ์เข้าถึง Pinterest มากที่สุดตามลำดับดังนี้ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา เป็นต้น แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสที่ผ่านมากลับพบการเข้าถึงที่ลดลง

แพลตฟอร์มของโซเชียลในรูปแบบอื่นๆ

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Whatsapp ในเดือนที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ใช้งาน Whatsapp ประมาณ 2 พันล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 33% และผลจากทั่วโลกพบว่ามีบัญชี Whatsapp Business ราวๆ 50 ล้านบัญชีและส่วนใหญ่ผู้ใช้งานมักเป็นกลุ่มเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม WEChat โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน WEChat ประมาณ 1.23 พันล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 20.0%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Tiktok โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Tiktok ประมาณ 732 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 12.0% และจากช่วงเดือนที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานที่ติดตั้ง Tiktok จากทั่วโลกประมาณ 58 ล้านคน และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม QQ โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน QQ ประมาณ 549.9 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 9.7%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานลดลงซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Telegram โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Telegram ประมาณ 550 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปคิดเป็น 9.6%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิม และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Sina Weibo โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Sina Weibo ประมาณ 521 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 14 ปีขึ้นไปคิดเป็น 8.5%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิม และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Reddit โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Reddit ประมาณ 430 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 7.0% และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Quora โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Quora ประมาณ 300 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 4.9% โดยค่าเฉลี่ยของการใช้งานเว็บไซต์นี้อยู่ที่ 9 ชั่วโมง 17 นาที และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

การใช้งานผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ

จากภาพแสดงถึงข้อมูลการใช้งานจากทั่วโลกโดยเชื่อมต่อผ่านเซลลูลาร์ ซึ่งจำนวนของผู้ใช้งานเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือมีราว 5.27 พันล้านคน โดยคิดเป็น 67.1%จากประชากรทั้งหมด และมีการสมัครสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งจากทั่วโลกมีการเชื่อมต่อข้อมูลเซลลูลาร์ทั้งหมด 10.88 พันล้านคน

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างการสมัครสมาชิกผ่านโทรศัพท์มือถือกับการเชื่อมต่อผ่านเซลลูลาร์

จากภาพแสดงถึงข้อมูลของการเชื่อมต่อผ่านเซลลูลาร์บนอุปกรณ์ต่างๆที่แตกต่างกันไปจากทั่วโลกโดยข้อมูลที่ได้คือ การเชื่อมต่อที่ใช้ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือสูงถึง 76.3% ถัดมาคือโทรศัพท์มือถือปุ่มกด และผ่านกล่องรับสัญญาณ

จากภาพแสดงถึงการพัฒนาการของการเคลื่อนที่ของข้อมูลเครือข่ายจากทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงการเริ่มต้นแบ่งสัดส่วนในการแบ่งปันข้อมูลโดยแบ่งออกตามประเภทของโทรศัพท์มือถือ โดยอันดับหนึ่งคือ อุปกรณ์ของแอนด์ดรอย อุปกรณ์ของแอปเปิ้ล อุปกรณ์ของซัมซุง อุปกรณ์อื่นๆ และ อุปกรณ์ของKAI OS ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงแนวโน้มของการดาวน์โหลดจากทั่วโลกพบว่า มีการดาวน์โหลดประมาณ 31 พันล้านครั้งและมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงแนวโน้มของการดาวน์โหลดจากทั่วโลกพบว่า มีการดาวน์โหลดประมาณ 36.7 พันล้านครั้งและมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันจากทั่วโลกที่ยังคงมีผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่องโดย 4 แพลตฟอร์มแรกคือ Facebook Whatsapp Facebook Messenger และ Instagram ซึ่งทั้ง 4 แพลตฟอร์มล้วนแล้วแต่เป็นเครือข่ายในบริษัทเดียวกันนั่นก็คือ Facebook นั่นเอง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันจากทั่วโลกที่มีผู้ดาวน์โหลดสูงสุดโดย 3 แพลตฟอร์มแรกคือ Tiktok Facebook และ Instagram ซึ่งทั้ง 3 แพลตฟอร์มนี้ทุกคนก็คงเคยได้ทดลองใช้และมีความชื่นชอบอยู่บ้างแล้ว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันจากทั่วโลกที่มีผู้ใช้จ่ายมากที่สุดโดย 3 แพลตฟอร์มแรกคือ Youtube Tiktok และ Tindet ซึ่งทั้ง 3 แพลตฟอร์มนี้ถ้ามีการสมัครสมาชิกหรือใช้จ่ายเกี่ยวกับแอปพลิเคชันจะได้รับสิทธิพิเศษมากมายเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือยอดนิยมจากทั่วโลกโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ มีการใช้งานสูงสุดในเดือนที่ผ่านมา อันดับสูงสุดได้แก่ Signal Private Messenger ในส่วนต่อมาคือการดาวน์โหลดยอดนิยม อันดับสูงสุดได้แก่ MX Takatak และส่วนสุดท้ายคือผู้บริโภคใช้จ่ายสูงสุดได้แก่ Youtube

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเกมส์บนโทรศัพท์มือถือยอดนิยมจากทั่วโลกโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ มีการใช้งานสูงสุดในเดือนที่ผ่านมา อันดับสูงสุดได้แก่ Project Makeover ในส่วนต่อมาคือการดาวน์โหลดยอดนิยม อันดับสูงสุดได้แก่ Phone Case DIY และส่วนสุดท้ายคือผู้บริโภคใช้จ่ายสูงสุดได้แก่ UMA Musume Pretty Derby

การใช้เพื่อการทำธุรกรรมหรือการแลกเปลี่ยนผ่านช่องทางออนไลน์

จากภาพแสดงถึงภาพรวมและการเคลื่อนไหวของการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยพบว่าในช่วงที่ผ่านมามีการค้นหาสินค้าหรือบริการเพื่อซื้อสูงถึง 81.8% และเลือกซื้อสินค้าต่างๆผ่านช่องทางออนไลน์คิดเป็น 92.2% เลยทีเดียว มีการสั่งซื้อที่สำเร็จผ่านช่องทางออนไลน์สูงถึง 78.6% ทำให้เห็นว่าการตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางออนไลน์นั้นก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่นำรูปแบบ Ecommerce มาใช้ภายในประเทศอันดับสูงสุดเป็นของประเทศอินโดนีเซีย โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ซึ่งถือว่าค่าเฉลี่ยสูงกว่าของทั่วโลกมาก

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุที่นำรูปแบบ Ecommerce มาใช้มากที่สุดคือ 25-34 ปี เพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของ Ecommerce แบ่งออกเป็นดังนี้ การเข้าเยี่ยมชมเพิ่มขึ้น 17.1% การเข้าชมคุณสมบัติของ Ecommerce เพิ่มขึ้น 12.3% มีการใช้เวลาเพิ่มขึ้น 4.5% การตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น 21.6%

จากภาพแสดงถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจในรูปแบบ Ecommerce ซึ่งแบ่งตามประเภทของผู้ใช้งานและอุปกรณ์โดยแบ่งได้ดังนี้ ผู้เยี่ยมชมรายใหม่ๆที่เข้าชมอสังหาริมทรัพย์คิดเป็น 44% การกลับมาใช้บริการอีกครั้งคิดเป็น 56% ซึ่งหากแบ่งตามอุปกรณ์ โทรศัพท์มือถือมีอันดับสูงที่สุดในการใช้งาน Ecommerce

จากภาพแสดงถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจในรูปแบบ Ecommerce ซึ่งแบ่งตามประเภทของอุปกรณ์และหมวดหมู่ อันดับที่สูงที่สุดคือ เกี่ยวกับความหรูหรา รองลงมาคือความสวยงาม และเครื่องแต่งกาย

จากภาพแสดงถึงการแสดงความเคลื่อนไหวโดยแบ่งออกได้หลายประเภท ซึ่งการส่งข้อมูลแบบทางตรงมีมากที่สุด ต่อมาคือการค้นหา และอื่นๆ

จากภาพแสดงถึงอัตราเฉลี่ยของผู้เข้าชม Ecommerce ที่ดูเพียงหน้าเดียวโดยแบ่งตามอุปกรณ์ โดยค่าเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ 47% อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 49% อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 45% และอุปกรณ์แท็บเล็ต 42%

จากภาพแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของผู้ใช้งาน Ecommerce โดยแบ่งตามอุปกรณ์ โดยค่าเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ 1.82% อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 1.5% อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2.3% และอุปกรณ์แท็บเล็ต 2.6%

จากภาพแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของผู้ใช้งาน Ecommerce ที่แบ่งตามประเภทได้ 3 อันดับหลักๆดังนี้ ร้านขายของชำ ความสวยงาม และเครื่องแต่งกายตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการขับเคลื่อนโดยช่องทางออนไลน์หากมีความต้องการจะเติบโตจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ซึ่งผู้ใช้งานให้ความเห็นว่าพวกเขาจะตัดสินใจและชื่นชอบการซื้อสินค้าของเรา เมื่อเรามีบริการส่งฟรี ซึ่งมีคนเห็นด้วยถึง 52.6% ต่อมาคือเรื่องของส่วนลดที่มีผลต่อการตัดสินใจ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการกระจายในเรื่องของ Ecommerce จากทั่วโลกโดย 3 อันดับแรกคือประเทศไนจีเรีย ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศจีนตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่องทางการชำระเงินบน Ecommerce ซึ่งก็ไม่ได้มีน้อยกว่ารูปแบบอื่นแต่อย่างใด แต่รูปแบบที่คนมักนิยมใช้งานมากที่สุดคือกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือกระเป๋าเงินของโทรศัพท์มือถือ และอีกช่องทางคือบัตรเครดิตหรือเดบิต

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกซ์ ซึ่งค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่อันดับ 2 และอันดับหนึ่งเป็นของประเทศจีน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางบัตรเครดิต ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศแคนาดาตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางบัตรเดบิต ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศเดนมาร์ก และประเทศเบลเยี่ยมตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางการโอนเงินผ่านธนาคาร ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศโปแลนด์ และประเทศฟินแลนด์ตามลำดับ โดยประเทศไทยก็อยู่อันดับที่ 4

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางการชำระเงินสดปลายทาง ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไนจีเรียตามลำดับ โดยประเทศไทยก็อยู่อันดับที่ 4

จากภาพแสดงถึงการซื้อเนื้อหาดิจิทัลจากกลุ่มของผู้ใช้งาน โดยสิ่งที่เป็นที่นิยมอันดับหนึ่งเลยคือ บริการสตรีมภาพยนตร์หรือทีวี ตัวอย่างก็เช่น Netflix ที่เราคุ้นเคยกันดี และอันดับที่ต่อมาคือบริการสตรีมเพลง และการดาวน์โหลดเพลง

รูปแบบการทำการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าการตลาดดิจิทัล คือการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางสื่อดิจิทัลซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากเพราะว่าในปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการประชาสัมพันธ์ประเภทนี้ได้ง่ายที่สุด

จากภาพแสดงถึงข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกสรุปออกมาว่าเขาพบเห็นการประชาสัมพันธ์หรือการเคลื่อนไหวของแบรนด์จากช่องทางและรูปแบบใดมากที่สุด ซึ่งผลออกมาคือ การใช้เครื่องมือ search engine มากที่สุดรองลงมาคือ โฆษณาบนโทรทัศน์ และการพูดแบบปากต่อปาก เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของประเทศที่มีการสืบค้นข้อมูลของแบรนด์ต่างๆก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่ง 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศบราซิล ประเทศกรีซ และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอัตราร้อยละจากทั่วโลกในส่วนนี้ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมาก และประเทศไทยก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับทั่วโลก นั่นก็หมายความว่าประเทศไทยมักจะเลือกซื้อสินค้าแบบตัดสินใจรวดเร็วหาข้อมูลไม่มากนัก

จากภาพแสดงถึงซึ่งกลุ่มคนที่ใช้เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลของแบรนด์เพื่อมาประกอบการตัดสินใจมากที่สุด คือกลุ่มช่วงอายุ 55-64 ปี เพศชายและรองลงมาคือเพศหญิงในช่วงอายุเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเป็นช่วงวัยที่ต้องการข้อมูลที่มากเพียงพอเพื่อให้การตัดสินใจของตนเองถูกต้องและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

จากภาพแสดงถึงการหาข้อมูลของแบรนด์ที่สามารถทำได้หลายช่องทาง แต่ช่องทางที่ถูกใช้บ่อยและมากที่สุดคือ การใช้เครื่องมือ search engine การเข้าไปดูในช่องทางโซเชียลต่างๆ และการชมรีวิวของคนอื่นๆ ซึ่งหากต้องการซื้อของที่ตรงตามรูปแบบที่ร้านค้าแสดงไว้และตรงกับความต้องการของเรา ก็จำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลก่อนเสมอ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของประเทศที่ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าพวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา คือ ประเทศจีน ประเทศอินเดีย และประเทศไทย

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุของผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าพวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา คือ กลุ่มช่วงอายุ 25-34 เพศชาย

จากภาพแสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับชมโฆษณาแต่ในหลายๆประเทศก็ไม่ชื่นชอบในการโฆษณานั้นๆ ซึ่งการจัดอันดับประเทศที่มีการใช้เครื่องมือบล็อกโฆษณาทางออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ ประเทศอินโนนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และประเทศไต้หวัน เป็นต้น แน่นอนว่าถ้าจะต้องทำโฆษณาในประเทศเหล่านี้ควรระมัดระวังมากขึ้นเพราะอาจลงทุนโดยได้รับผลตอบแทนอะไรเลย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานที่มีการปิดกั้นโฆษณาทางออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย และรองลงมาคือกลุ่มช่วงอายุ 16-24 เพศชายเช่นกัน

จากภาพแสดงถึงเหตุผลที่ผู้ใช้งานเลือกปิดกั้นโฆษณาเหล่านั้นซึ่ง 3 เหตุผลหลักที่ผู้ใช้งานเลือกที่จะปิดกั้นโฆษณาคือ โฆษณามีจำนวนมากเกินไปและบางสิ่งไม่มีความน่าเชื่อถือ (ซึ่งเหตุผลนี้หลายคนคงรู้สึกเช่นเดียวกัน) ต่อมาคือการที่มีโฆษณาจำนวนมากเช่นเดียวกับอันดับแรก และสุดท้ายคือโฆษณากระตุ้นความรู้สึกมากเกินไป เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสที่มีการใช้จ่ายเกี่ยวกับโฆษณา ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีทั้งอัตราที่เพิ่มขึ้นและลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุผลจากด้านบนและการเข้าถึงที่น้อยลงจึงทำให้มีการใช้จ่ายที่น้อยลง

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับความประทับใจของผู้บริโภคในการชมโฆษณา ซึ่งจะเห็นว่าในบางไตรมาสมีความประทับใจในโฆษณาสูงมากแต่ก็ยังคงมีลดลงบ้างซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับราคาต่อการคลิกหนึ่งครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาสูงสุดสำหรับการคลิกหนึ่งครั้งคือ ไตรมาสแรกอยู่ที่ 0.60 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 18.83 บาท และราคาที่ต่ำที่สุดคือไตรมาสที่สองอยู่ที่ 0.46 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 14.43 บาท

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับจำนวนการคลิกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงิน ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ 179 ในไตรมาสที่ 4

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยสำหรับการคลิกและค้นหาโฆษณาออนไลน์ โดยสูงที่สุดคือไตรมาสแรก คือ 2.0%

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับการใช้จ่ายในการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 163 แม้จะดูเหมือนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดแต่ว่าก็มีการลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับการแสดงผลโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆที่ถูกใช้จ่ายทั้งหมด โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 117

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับต้นทุนเฉลี่ยที่ใช้ในการโฆษณาซึ่งในต้นทุนครั้งหนึ่งแลกกับการแจ้งเตือน 1000 ครั้ง โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 7.32 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 229.69 บาท ต่อการแจ้งเตือน 1000 ครั้ง

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับต้นทุนเฉลี่ยที่ใช้ในการโฆษณาซึ่งในต้นทุนครั้งหนึ่งแลกกับการแจ้งเตือน 1000 ครั้ง โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 7.32 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 229.69 บาท ต่อการแจ้งเตือน 1,000 ครั้ง

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยสำหรับการคลิกและโฆษณาออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย โดยสูงที่สุดคือไตรมาสแรก คือ 1.1%

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอขอบคุณ GWI

ขอขอบคุณ STATISTA

ขอขอบคุณ SEMRUSH

ขอขอบคุณ APP ANNIE

ขอขอบคุณ SIMILARWEB

ขอขอบคุณ LOCOWISE

ขอขอบคุณ KENSHOO

หมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงและอาจไม่ตรงกัน

การปฏิเสธความรับผิดชอบและหมายเหตุที่สำคัญ

ช่องทางการติดต่อของผู้ทำการศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน

 

เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ Digital Marketing Trend เทคนิคการโปรโมทโฆษณา

ติดต่อเรียนการตลาดออนไลน์ Digital Marketing กับอาจารย์หลิง
ทางไลน์ไอดี @ajlink

ติดตามบน Facebook Fanpage : AJLink อาจารย์หลิง

เพิ่มเพื่อน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *