POV ใน TikTok คืออะไร? POV ใน TikTok คืออะไร?

POV ใน TikTok คืออะไร?

หลายคนที่เล่น Tiktok คงจะเห็นแฮทแท็ก #POV กันอยู่บ่อยๆ และมีหลายคนสงสัยกันว่า POV ใน Tiktok คืออะไร จริงๆ แล้วคำว่า POV ย่อมาจากคำว่า Point of View ความหมายโดยปกติแปลว่า “มุมมอง” หรือแปลได้ในอีกบริบทก็คือเรื่องสมมติ หรือเรื่องที่แต่งขึ้น

POV ไม่ได้เป็นที่นิยมแค่ใน TikTok เท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมใน Youtube ด้วย ลองเข้า Youtube แล้วค้นหาคำว่า POV Playlist คุณก็จะพบวิดีโออีกหลากหลายคลิปที่เป็นที่นิยมมียอดเข้าชมนับล้านเลยทีเดียว
คำว่า POV ถ้าความหมายใน Tiktok ก็คือเรื่องสมมติ หรือการสวมบทบาทเป็นอะไรก็ได้บนโลกใบนี้ ทำให้คนดูได้เห็นในมุมมองของคนๆนั้น ผู้คนใน TikTok นิยมอัดคลิปวิดีโอสวมบทบาทเป็นอะไรสักอย่าง หรือทำวิดีโอเพื่อให้คนดูสวมบทบาทตอบโต้กับพวกเขา

เช่น POV ความรักคืออะไร มุมมองที่เราแสดงออกให้คนเห็นว่า เราเข้าใจว่าความรักคืออะไร
ซึ่งใน Tiktok ก็จะมีคำค้นหาที่เป็นที่นิยมมากมาย เช่น POVหวานใจ, POVความรู้สึก, POVแฟนเก่า, POVขำ, POVที่เป็นเรื่องจริง, POVแฟน, POVเศร้า, POVคนคุย, POVตลก, POVมาเฟีย, POVเจ้าชู้

เช่น พอเรากดเข้าไปที่ POVคนคุย ก็จะมี POV เกี่ยวกับคนคุยอีกมากมาย เช่น POVคนคุยเก่า, POVคนคุยเยอะ, POVคนคุยคลั่งรัก, POVคนคุยหาย, POVคนคุยบอกคุยกะเราคนเดียว และอีกมากมาย ลองเข้าไปส่องกันได้นะคะ ก็จะได้เห็นมุมมอง POV อีกหลากหลายคลิปเลย

แต่พอเรากดไปที่ POVที่เป็นเรื่องจริง ก็จะมี POV อีกมากมาย เช่น ไม่ POV ด้วยเพราะเรื่องจริง, POVนี้สร้างจากเรื่องจริง, ให้เป็นPOVหรือเรื่องจริงดี ซึ่ง POVที่เป็นเรื่องจริง ก็คือ เรื่องสมมติที่อิงมาจากเรื่องจริง หรือมุมมองประมาณว่า อย่าเอาเรื่องจริงมาล้อเล่น หรืออย่าเอาเรื่องจริงมาพูดนั่นเอง

ซึ่งถ้าในมุมมองการเขียน POV ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท
1. มุมมองบุคคลที่ 1 มุมมองการเล่าเรื่อง การใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่ง โดยวิธีนี้จะสร้างความสนิทสนมกับคนอ่านได้เป็นอย่างดี ทำให้เข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ และความคิดของตัวละครนั้นๆ
2. มุมมอง บุคคลที่ 2 (second person) เป็นมุมมองที่หายาก และไม่ค่อยได้รับความนิยม และไม่ค่อยมีใครแต่งกัน มุมมองการเล่าเรื่องแบบบุคคลที่สอง มันเหมือนกับว่าเรื่องเล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้อ่าน และโดยส่วนใหญ่คนอ่านจะต่อต้าน และไม่เชื่อในสิ่งที่เล่า
3. มุมมอง บุคคลที่ 3 แบบจำกัดมุมมอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
(3.1) บุคคลที่ 3 แบบพระเจ้า
อธิบายง่ายๆก็ คือ คนอ่านเป็นพระเจ้า รู้เห็นทุกอย่าง มองเห็นทุกสิ่งอย่าง และรับรู้ความรู้สึกความคิดของทุกคนในฉากนั้นๆ แม้ว่า ตัวละครจะไม่รู้ แต่คนอ่านคือ รู้เรื่องหมดแล้วว่าตัวละครนี้ คิดอะไรและตัวละครนี้คิดอะไร ประเภทนี้ก็เป็นที่นิยม เพราะคนอ่านก็จะอินไปกับบทว่า เมื่อไรตัวละครนี้จะรู้ความจริงซะทีนะ
เช่น หากเราเป็นคนอ่าน ก็เหมือนว่าเราเป็นพระเจ้าจะไปนั่งในใจตัวละคนคนไหนก็ได้
(3.2) บุคคลที่ 3 แบบจำกัด หรือแบบตัวละคร
คือการเล่าแบบจำกัดตัวละครใดตัวละครหนึ่งไปเลย จะไม่โดดไปหาตัวละครตัวอื่น เป็นการรับรู้แบบจำกัดแค่มุมมองของคนๆ หนึ่งเท่านั้น เราจะรู้เฉพาะสิ่งที่ตัวละครนั่นคิดหริอรู้สึก รู้แค่ความรู้สึกของตัวละครใดตัวละครหนึ่งเท่านั้น.
.
.

เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ Digital Marketing Trend เทคนิคการโปรโมทโฆษณา

ติดต่อเรียนการตลาดออนไลน์ Digital Marketing กับอาจารย์หลิง
ทางไลน์ไอดี @ajlink

ติดตามบน Facebook Fanpage : AJLink อาจารย์หลิง

เพิ่มเพื่อน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *